อ.อัญชลี สาธิตและฝึกปฏิบัติการทำน้ำหมักจุลินทรีย์
คลิป 1
กล้องพิชญ์ ไฟล์ MP4 ความยาว 03:36 นาที
คลิป 2
กล้องพิชญ์ ไฟล์ MP4 ความยาว 12:25 นาที
คลิป 3
กล้องพิชญ์ ไฟล์ MP4 ความยาว 16:46 นาที
  • สกัดความรู้ การทำน้ำหมักจุลินทรีย์
  • การทำน้ำหมักจุลินทรีย์ คือ การทำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง เป็นพวกไซยาโนแบคทีเรีย (สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน) เป็นสาหร่ายขนาดเล็ก ๆ ที่อยู่ในแหล่งน้ำทั่วไป
  • หลักการ คือ นำสาหร่ายที่มีอยู่ในน้ำมาเพาะเลี้ยง โดยเติมอาหารให้สาหร่าย คือ คาร์บอน และไนโตรเจน
  • คาร์บอนมาจากน้ำตาล ไนโตรเจนมาจากกะปิหรือไข่
  • วิธีการทำ ใช้ขวดน้ำดื่มขนาด 1.25 ลิตร จำนวน 10 ขวด ล้างขวดให้สะอาด ใส่น้ำจากแหล่งที่มีสิ่งมีชีวิต จากบ่อหรือคลอง ถ้าเป็นน้ำก๊อกจะมีคลอรีน สิ่งมีชีวิตจะไม่ค่อยเจริญเติบโต
  • การใส่น้ำในขวด อย่าใส่เต็มขวด ใส่ให้ต่ำกว่าบ่าขวด เสร็จแล้วนำไปตากแดด
  • ถ้าเป็นน้ำคลอง ตากแดง 1 วัน
  • ถ้าเป็นน้ำก๊อก ตากแดดหลายวัน เพื่อให้มีสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นในขวด
  • การเติมอาหารให้สิ่งมีชีวิตที่อยู่ในขวด
  • เติมคาร์บอน คือ ใช้น้ำตาล ได้จาก M-150 หรือ ยี่ห้ออะไรก็ได้
  • เติมไนโตรเจน ตอกไข่ไก่ 1 ฟอง ใส่ในถ้วย ใส่กะปิ 1 ช้อนโต๊ะ แล้วคนให้เข้ากันให้แตกละเอียด
  • สิ่งสำคัญ แบคทีเรียต้องการไนโตรเจน คาร์บอนหรือน้ำตาลเป็นองค์ประกอบ
  • ไซยาโนแบคทีเรีย จะเปลี่ยนไนโตรเจน ให้เป็น ไฮโดรเจน
  • เท ไข่และกะปิ ที่คนเข้ากันดีแล้ว ผสมลงในถ้วยที่ใส่ M-150 ไว้แล้ว
  • ตักส่วนผสม 1 ช้อนโต๊ะ เทลงในขวด ปิดฝาขวด แล้วเข่ยาขวด
  • นำน้ำหมักหัวเชื้อ (starter) ที่มีจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงเป็น สังเกตุได้ที่สีเป็นสีแดงเข้ม มาเติมเพื่อให้หมักได้แล้วเร็ว ประมาณสองอาทิตย์ครั้ง ถ้าไม่เติม starter ต้องหมักเป็นเดือน
  • หลังใส่นำน้ำหมักหัวเชื้อ (starter) ปิดฝาขวดแล้วเขย่า จากนั้นนำขวดน้ำหมักไปแตกแดด
  • การสังเกตุน้ำหมัก ถ้ามันตาย จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงจะหายไป แล้วน้ำจะเป็นสีขาว สีขุ่น ๆ หรือสีเขียว
  • นำไปตากแดด โดยวางขวดเอียง
  • ทุกวัน (วันละครั้ง ตอนไหนก็ได้) โดยเฉพาะสามวันแรก ให้เขย่าและเปิดฝาขวดเพื่อระบายก็าซที่เกิดขึ้น
  • การนำไปใช้งาน ใช้น้ำหมัก 50 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร
  • จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงชอบความร้อน วางขวดแตกแดด ถ้าฝนตกต้องเก็บเข้าที่ร่ม
  • เพื่อความถูกต้องสมบูรณ์ ดูรายละเอียดจากคลิปทั้ง 3 คลิปด้วย